วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ประเพณีวัฒนธรรม

 “ตูปะ”ข้าวต้มใบกะพ้อ ขนมคู่วันรายอ



    หลังจากสิ้นสุดเดือนแห่งการถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอน หรือเดือนปอซอ ครบ 30 วันวันถัดมาคือวันเฉลิมฉลองของพี่น้องมุสลิมทั่วโลกคือ วันอีดิ้ลฟิตรี หรือ วันอีด หรือวันฮารีรายอ

    “ตูป๊ะ” คือหนึ่งในเมนูอาหารยืนหนึ่งประจำเทศกาลฮารีรายอ ในอดีตแทบทุกบ้านต้องมีการทำตูป๊ะ เป็นค่านิยมท้องถิ่นที่สำคัญ ในยุคนี้ที่มีความสะดวก สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมืองและสากลมากขึ้นและมุสลิมยุคใหม่อาจทำไม่เป็นกันทุกคน หากคนส่วนใหญ่หันกลับมากินขนมโบราณคลาสสิคนี้กันมากขึ้น การสั่งทำจึงเป็นอีกทางเลือกในการมีตูป๊ะกินในวันรายอ ด้วยความรู้สึก “ขาดไม่ได้”


    “ตูป๊ะ” หรือ “ตูปัต” คือข้าวต้มใบกะพ้อ มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่นิยมห่อด้วยใบกะพ้อหรือใบจากเป็นรูปสามเหลี่ยม มักจะทำกันในวันก่อนรายอหนึ่งวัน โดยนำใบกะพ้อซึ่งควรใช้ยอดใบที่ยังไม่กางมาสานเป็นลูก ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีสามมุม จากนั้นนำข้าวเหนียวขาวหรือข้าวเหนียวดำที่ผัดกับน้ำกะทิ น้ำตาล และเกลือ จะใส่ถั่วขาวหรือถั่วดำเพื่อความอร่อยยิ่งขึ้นก็ได้ มาห่อด้วยใบกะพ้อเป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วนึ่งจนสุก กลายเป็น “ตูป๊ะ” ที่เหนียวนุ่มละมุนลิ้น ความอร่อยไม่แพ้กันในการที่จะจิ้มตูป๊ะกับแกงหรือกินเปล่าๆ ก็ได้



    แม้ในชีวิตประจำวันผู้คนในพื้นที่ชายแดนใต้จะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่ต่อเนื่องยาวนานมากว่า 18 ปี แต่ประเพณีอันดีงามทั้งการถือศีลอด ร่วมเฉลิมฉลอง ออกเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง เป็นประเพณีปฏิบัติที่มิว่างเว้น เป็นภาพของความปรองดอง สมัครสมานสามัคคีที่ยังปรากฏอยู่ไม่เสื่อมคลาย แม้ปีที่แล้วและปีนี้เดือนรอมฏอน วันรายอ จะอยู่ในช่วงของโควิดระบาดก็ตาม
    สำหรับวันฮารีรายอ หรือที่เรียกกันว่า “วันอีด” ในอิสลามมี 2 วัน คือ “อีดิ้ลฟิตรี” เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการสิ้นสุดเดือนแห่งการถือศีลอด ตรงกับวันที่ 1 ของเดือนเชาวาล อันเป็นเดือนถัดจากเดือนรอมฎอนตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม

    ส่วนวันอีดอีกวันหนึ่งคือ “อีดิ้ลอัฎฮา” เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่มุสลิมจากทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
สาวๆ หลายบ้านหันมาหัดทำตูป๊ะกัน เพราะไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ โดยเฉพาะในการห่อให้สวยงาม เป็นการโชว์ฝีมือและรักษาภูมิปัญญาไว้ไม่ให้สูญหาย
    แม้จะมีคำสั่งในปีนี้จากแต่ละจังหวัดในชายแดนใต้ในการงดเยี่ยมญาติ เลี้ยงรวมกลุ่มในวันรายอ แต่การชิมรสชาตตูป๊ะของแต่ละบ้านยังมีเช่นเดิม ด้วยวิธีไหนต้องตามดูกันในวันรายอนี้
แน่นอนว่าช่วงรายอฮัจญ์จะได้ชิม “ตูป๊ะ” กันอีกแน่นอน






วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16 (OLMS)

  ออกฝึกสังเกตการณ์สอน




    ในวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ทางฝ่ายฝึกได้ขออนุญาติอาจารย์รายวิชาแต่ละท่านให้งดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษานั้นได้สังเกตการสอนของโรงเรียน
    อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ยกคลาสในสัปดาห์นี้พร้อมให้แต่กลุ่มของโครงงานทำงานกลุ่มให้คืบหน้า
ในครั้งนี้ทางกลุ่มเราได้มีนัดประชุมการทำงานโดยใช้ Google meet ในการประชุม

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (OLMS)

 ออกฝึกสังเกตการณ์สอน




    ในวันที่ 30 กันยายน 2564 ทางฝ่ายฝึกได้ขออนุญาติอาจารย์รายวิชาแต่ละท่านให้งดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษานั้นได้สังเกตการสอนของโรงเรียน
    อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ยกคลาสในสัปดาห์นี้พร้อมให้แต่กลุ่มของโครงงานทำงานกลุ่มให้คืบหน้า
ในครั้งนี้ทางกลุ่มเราได้มีนัดประชุมการทำงานโดยใช้ Google meet ในการประชุม



วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14 (OLMS)

 ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)



        1. สมาชิกในกลุ่มได้มีการมอบหมายรวมกัน ทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มเนื้อหาขของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ Science Mathematics Program : SMP 

2. การแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคน และการมีเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระที่ตัวเองเลือกในหัวข้อตัวเอง โดยแบ่งคนละ 1 หัวข้อ ซึ่งในการเพิ่มเนื้อหาของข้อมูล

        3. หลังจากสมาชิกในกลุ่มได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิ่ง ในระบบ Science Mathematics Program : SMP 

เสร็จสมบูรณ์ ก็จัดทำในรูปเล่มเอกสาร รายงานการศึกษาโครงงาน เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี 




วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (OLMS)

 นำเสนอบทที่ 2 - 3



         สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม นัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ SMP.YRU  โดยมีการแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคนไปหาข้อมูลในส่วนของตัวเอง และเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระ ซึ่งแบ่งให้คนละ 1 หัวข้อ แต่ละคนสามารถเพิ่มข้อมูล ทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอกสารประกอบการสอน พาเวอร์พอยต์ หรือคลิปวีดีโอการสอนต่าง ๆ อีกทั้งการเพิ่มกิจกรรมและการประเมินผล ทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหทั้งกลุ่ม1-6 ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานที่ได้ทำไว้โดยในเนื้อหา บทที่ 2-3 จะมีรายละเอียดดังนี้

บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 
  -ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์
  -ระบบอีเลิร์นนิ่ง
  -ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
  -เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ระบุหัวข้อ)
  -งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

(เนิ้อหาบท2ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มว่าจะใส่อะไรเพื่อให้ตรงกับเรื่องที่ทำในโครงงาน) และ บทที่ 3 วิธีการศึกษา เป็นขั้นตอนการศึกษาของ ADDIEลังเรียน และการมอบหมายงานต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด 





        หลังจากที่ได้นำเสนอ อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำในเรื่องของเนื้อหา การนำเสนอ และสไลด์ เพื่อที่แต่ละกลุ่มจะได้นำไปปรับปรุงครั้งต่อไป

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12 (OLMS)

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System) 




       สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม นัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ SMP.YRU  โดยมีการแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคนไปหาข้อมูลในส่วนของตัวเอง และเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระ ซึ่งแบ่งให้คนละ 1 หัวข้อ แต่ละคนสามารถเพิ่มข้อมูล ทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอกสารประกอบการสอน พาเวอร์พอยต์ หรือคลิปวีดีโอการสอนต่าง ๆ อีกทั้งการเพิ่มกิจกรรมและการประเมินผล ทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และการมอบหมายงานต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด 

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11 (OLMS)

 ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

    ในวันนี้ได้มีการประชุมในการทำพัฒนาพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง โดยผ่าน Google meet ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่ของตัวเองที่ได้รับผิดชอบ  มีดังนี้





                1.  การทำของบทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีการพูดคุยและทำความเข้าใจในเนื้อหาอย่างละเอียดมากขึ้น  โดยมีเนื้อหาดังนี้

                   การศึกษาโครงงาน คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

                        1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

                                  1.1 สาเหตุหรือปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

                                  1.2 ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

                                  1.3 ผลกระทบของเทคโนโลยี

                                  1.4 ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบของเทคโนโลยี

                          2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ บทเรียนออนไลน์ E - learning

                                  2.1 ความหมายของบทเรียน E - learning

                                  2.2 องค์ประกอบของ E - learning

                                  2.3 ระดับการนำ E - learning

                                  2.4 ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียน ADDIE Model

               2. การทำของบทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา มีขั้นตอนการศึกษาและการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งตามขั้นตอนของ ADDIE  Model มีรายละเอียด ดังนี้

                       2.1 การวิเคราะห์ (Analysis)

                        2.2 การออกแบบ (Design)

                        2.3 การพัฒนา (Development)

                        2.4 การนำไปใช้ (Implementation)

                        2.5 การประเมินผล (Evaluation)

            3. การทำพัฒนาบทเรียนผ่าน https://smp.yru.ac.th/login/index.php  การแบ่งหน้าที่ แต่แบ่งตามที่ตัวดองได้รับผิดเอง  เพื่อศึกษาการพัฒนาบทเรียนอิเลิร์นนิ่งและทำความเข้าใจกับระบบเพื่อง่ายในจัดการในการทำพัฒนาบทเรียนในครั้งต่อไป



ประเพณีวัฒนธรรม

 “ตูปะ”ข้าวต้มใบกะพ้อ ขนมคู่วันรายอ      หลังจากสิ้นสุดเดือนแห่งการถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอน หรือเดือนปอซอ ครบ 30 วันวันถัดมาคือวันเฉลิมฉลองข...