วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

การเรียนรู้ครั้งที่ 16





       ในวันที่ 19 มีนาคม 2563
     ทางมหาวิทยาลัย ได้ประกาศเรื่องมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-๑๙) ฉบับที่ ๓  เพื่อให้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-๑๙) เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัย จึงประกาศมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙    ดังนั้นทางมหาวิทยาลัย งดการเรียนการสอน มีการเรียนการสอนออนไลน์ ในเรื่องสอบ สอบออนไลน์ตามตารางสอบที่กำหนดไว้
     ๑.ให้ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป
     ๒.ให้ดำเนินการสอบปลายภาคตามตารางเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดโดยใช้ระบบออนไลน์
ทั้งนี้ให้อาจารย์ผู้สอบเป็นผู้ดำเนินการและกำกับการสอบด้วยตนเองโดยให้นักศึกษาสอบตามตารางที่กำหนด
     ๓.การลงชื่อปฏิบัติราชการของบุคลากรให้ใช้ระบบ Scan online เริ่มตั้งวันที่ ๑๗ มีนาคมถึงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๓ ในเวลาทำการปกติ
     ๔.ให้งดหรือเลื่อนกิจกรรมที่มีการรวมคนตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยตั้งวันที่ ๑๗ มีนาคม ถึงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๓
     ๕.ให้หัวหน้าส่วนราชการกำกับการปฏิบัติงานของบุคลากรที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยเคร่งครัดเพื่อไม่เกิดความเสียหายต่อทางราชการ
     ๖.กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการให้หัวหน้าส่วนราชการเสนอขอความเห็นชอบในการดำเนินการไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
      ๗.กรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามประกาศนี้ให้อธิการบดีมีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดและถือเป็นที่สุด


   การเรียนการสอนออนไลน์
          1.ทุกคนทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest ให้ได้คะแนนมากที่สุด และให้ครบทุกบท
          2.ปรับแต่ง Weblog ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
          3. เรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรม PHP เชื่อมต่อฐานข้อมูล https://elearning.yru.ac.th/mod/folder/view.php?id=8857  เพื่อนำไปเขียนโปรแกรม เพิ่ม ลบ แก้ไข รายงานข้อมูล ในระบบที่กลุ่มพัฒนา นอกจากนั้น ยังสามารถศึกษาทักษะการเขียนโปรแกรม PHP ได้จากอินเทอร์เน็ต หรือ Youtube Clip

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

การเรียนรู้ครั้งที่ 10



ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์  2563

    อาจารย์ได้อธิบาย ในการทำโครงงานในระบบต่าง ๆ ที่มอบหมายงานในสัปดาห์ก่อน และอธิบายการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information  System Development) วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) เป็นว่าอย่างไร มีแบบไหนบ้าง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information  System Development)
        คือ เป็นการสร้างระบบใหม่หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้ว  ให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการ
วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC)
        คือ กระบวนการทางความคิด เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ  ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างมีแนวทางและเป็นขั้นตอน วงจรการพัฒนาระบบ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน  ได้แก่
1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project  Identification)
        1.1. ค้นหาโครงการพัฒนาระบบ
        1.2. เลือกโครงการที่เหมาะสมที่สุด
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project  Initiating and Planning)
        2.1. เสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
        2.2. วางแผนโครงการ
3. วิเคราะห์ระบบ (System  Analysis)
        3.1. กำหนดความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ
        3.2. จำลองแบบขั้นตอนการทำงาน       
4. การออกแบบเชิงตรรก (Logic  Design)
         4.1. ออกแบบแบบฟอร์มข้อมูลและรายงาน
         4.2. ออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ
5. การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical  Design)
         5.1. ออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ
         5.2. ออกแบบ  Application
6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System  Implementation)
         6.1. เขียนโปรแกรม
         6.2. ทดสอบโปรแกรม
         6.3. ติดตั้งระบบ
7. การซ่อมบำรุงระบบ (System  Maintenance)
         7.1. เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ
         7.2. วิเคราะห์ข้อมูลคำร้องขอเพื่อการปรับปรุง
         7.3. ออกแบบการทำงานที่ต้องการปรับปรุง

    ในสัปดาห์นี้ นำเสนอในแต่ละกลุ่มต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกันไปในต่างด้าน ที่เลือกมานำเสนอ

   กลุ่มที่ 4 จำนวนสถิติการศึกษาในระบบและนอกระบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีพ.ศ. 2561 (สามจังหวัดชายแดนใต้)   
          1.เพื่อศึกษาอัตราส่วนการศึกษาในระบบและนอกระบบว่ามีนักเรียนมากน้อยเพียงใดและศึกษา การเรียนการสอนในระบบและนอกระบบมีความแตกต่างอย่างไร
การศึกษาในระบบและนอกระบบ
      การศึกษาในระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบ แบบแผนชัดเจนมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตรวิธีการจัดการการเรียนการสอนและวัดผลที่แน่นอน
      การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยึดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบที่มุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์


กลุ่มที่ 5 การสอบ 9 วิชาสามัญ
          1. เพื่อต้องการทราบจำนวนนักเรียนที่สนใจในการสอบ 9 วิชาสามัญ ในแต่ละปี
          2. เพื่อศึกษาสถิติคะแนนสอบของ 9 วิชาสามัญ ในแต่ละปี


         พบว่าการสอบ 9 วิชาสามัญก็มีความสำคัญอย่างมากสำหรับนักเรียนที่จะก้าวไปสู่ใระดับอุดมศึกษา สังเกตได้จากผู้ที่เข้าสมัครสอบที่มีจำนวนมาก เพราะว่าการสอบ 9 วิชาสามัญจะเป็นการวัดความรู้ขั้นพื้นฐานของนักเรียนที่จบมาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และการสอบเข้ามหาวิทยาลัยบางสาขาวิชาก็ต้องการผลคะแนนสอบ

กลุ่มที่ 6 ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 – 2561
   1. เพื่อรู้ผลการสอบ O-NET ในแต่ละปีว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานมากน้อยเพียงใด.
   2. เพื่อได้รู้การวัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษาของแต่ละโรงเรียนทั่วประเทศ.
   3. เพื่อได้รู้ว่าคะแนนการทดสอบในแต่ละปีมีการพัฒนาขึ้นหรือน้อยลง.




    การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้รับจากการฟัง เพื่อนๆ สามารถปรับใช้งานตัวเอง รู้จักวางแผนทำงานเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และสามารถสื่อสารความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบด้วยตนเอง 

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

การเรียนรู้ครั้งที่ 15



      ในวันที่ 12 มีนาคม 2563
    อาจารย์ให้ทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย โดยที่อาจารย์ดูความคืบหน้า โครงงาน ได้แก่
          บทที่ 1  ที่มาและความสำคัญ
          บทที่ 2 เอกสารที่่เกี่ยวข้อง
          บทที่ 3  วิธีการดำเนินการ
     พร้อมนำเสนอ นำสไลด์ แขวนที่ google plus รายวิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา (มรย.) โดยในวันนี้ นำเสนอทุกกลุ่ม ดังนี้   

    กลุ่มที่ 1  ระบบบริหารบุคลากร



     กลุ่มที่ 2 ระบบทะเบียนนักเรียน




    กลุ่มที่ 3 ระบบงานวินัยนักเรียน




   กลุ่มที่ 4 ระบบกิจกรรมนักเรียน





     กลุ่มที่ 5 ระบบหลักสูตร





    กลุ่มที่ 6 ระบบบริการพยาบาล






    คำแนะนำจากอาจารย์ในการนำเสนอ
          1. ภาพรวมของกลุ่ม ใช้ภาษาไทยได้ดี
          2. ให้ปรับปรุง E-R Diagram ลดความซ้ำซ้อน ตารางหลัก ได้แก่  1. ตารางนักเรียน  2. ตารางบุคลากร 3. ตารางประเภทวินัย  และ 4. ตารางบันทึกวินัยนักเรียน (รหัสนักเรียน, รหัสบุคลากร, วันที่, เวลา, รายละเอียดการสอบสวน, รายละเอียดการลงโทษ, รหัสประเภทวินัย)
          3.ปรับรูปแบบการเขียนพจนานุกรม แยกเป็นตาราง ชื่อฟิลควรใช้ให้เป็นมาตรฐานและสื่อความหมาย  เช่น BehaviorCode, BehaivorName, BehaviorDesc เป็นต้น
          4.ลดการอ่านสไลด์จะดีมาก

     สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอในวันนี้ ได้ฝึกการพูด  การฟัง ในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังจากน้ำเสียง  จากสไลด์ของกลุ่มนำเสนอ ที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือและมั่นใจผู้นำเสนอ สิ่งที่ผิดพลาดในวันนี้  สามารถนำมาปรับใช้การนำเสนอในครั้งต่อไปได้อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

การเรียนรู้ครั้งที่ 14



  ในวันที่ 5 มีนาคม 2563
          อาจารย์ติดราชการด่วน ๆ  ซึ่งอาจารย์ได้รับมอบหมายงานให้  โดยแต่ละกลุ่มจองห้องติว ที่ห้องสมุด จากนั้นทำการบันทึกลงใน Blogger ของแต่ละบุคคล ซึ่งในสัปดาห์นี้ ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 14
สิ่งที่ได้รับจากทำโครงงาน  โดยการทำโครงงาน
   บทที่ 1  ที่มาและความสำคัญ
   บทที่ 2 เอกสารที่่เกี่ยวข้อง
   บทที่ 3  วิธีการดำเนินการ
           ได้ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางระบบของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย สร้างความรับผิดชอบในที่ได้รับมอบหมาย และพัฒนาระบบด้วยตนเอง รวมทั้งประยุกต์ ความรู้  ทักษะ  และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละประเภทนั้น ๆ

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563

การเรียนรู้ครั้งที่ 13



     ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562
     อาจารย์ได้อธิบาย Web Application กับ web service   มีความแตกต่างกันอย่างไร
     ความแตกต่างระหว่าง Web Application กับ Web Services
          ต่างกัน อันเนื่องจากจุดกำเนิด และ จุดประสงค์ของทั้งสองอย่างนั้น  Web Services นั้นเกิดมาจากการที่ Web Application ถูกพัฒนาได้จากหลาย ภาษา เช่น asp jsp php perl .... ทำให้การที่จะนำมารวมเพื่อร่วมทำงานด้วยกันนั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก (เหมือนคุยกันคนละภาษา) Web Services จึงเหมือนกับภาษาสากล ที่ทำให้แต่ละ Web Application ทำงานร่วมกันได้ โดยผ่าน SOAP ที่มี รูปแบบเป็น XML ซึ่งเป็นเหมือนภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Web Services นั้น มีหลายตัว อาทิ เช่น AXIS วิธีทำนั้นก็ไม่ยาก ยิ่งถ้าใช้ IDE จะง่ายมากแค่ คลิก ๆ  ไม่กี่ที่ก็เสร็จแล้ว ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่การสร้าง แต่กลับอยู่ที่การนำไปใช้มากกว่า



       ลักษณะการทำงานของ Web Application
     การทำงานของ Web Application นั้นโปรแกรมส่วนหนึ่งจะวางตัวอยู่บน Rendering Engine  ซึ่งตัว Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือนำเอาชุดคำสั่งหรือรูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแสดงผล  นำมาแสดงผลบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในจอภาพ โปรแกรมส่วนที่วางตัวอยู่บน Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่แสดงผล   จัดการตรวจสอบข้อมูลที่รับเข้ามาเบื้องต้นและการประมวลบางส่วนแต่ส่วนการทำงานหลักๆ จะวางตัวอยู่บน Services ในลักษณะ Web Application แบบเบื้องต้น
     ฝั่ง Services จะประกอบไปด้วย Web Services ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับไคลเอนต์ตามโปรโตคอล HTTP/HTTPS โดยนอกจาก Web Services จะทำหน้าที่ส่งไฟล์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงผลตามมาตรฐาน HTTP ตามปกติทั่วไปแล้ว   เว็บเซิร์ฟเวอร์จะมีส่วนประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นตัวแปลภาษา เช่น Script Engine ของภาษา PHP  หรืออาจจะมีการติดตั้ง .NET Framework ซึ่งมีส่วนแปลภาษา CLR (Common Language Runtime) ที่ใช้แปลภาษา intermediate จากโค้ดที่เขียนด้วย VB.NET หรือ C#.NET  หรืออาจจะเป็น J2EE  ที่มีส่วนแปลไบต์โค้ดของคลาสที่ได้จากโปรแกรมภาษาจาวา เป็นต้น

จากนั้น อาจารย์ได้ให้ นักศึกษาทำ PHP Tutorial ดังต่อไปนี้ และ อธิบายถึงการทำงานโครงงาน ตามแบบฟอร์มที่ได้กำหนด  ในแต่ละบทที่ได้มอบหมายในครั้ง ซึ่งได้แก่ บทที่ 1 บทที่ 2 และบทที่ 3




        การเรียนการสอนในครั้งนี้ ได้เรียนรู้กระบวนการ Web Application กับ web service   ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และจุดสังเกตของกระบวนการ  กระบวนการ Web Application กับ web service   อย่างไร ที่สำคัญ ได้เรียนรู้ php ว่าการทำงานอย่างไร และกระบวนการเขียนอย่างไร จุดสังเกตของภาษา php สามารถมาปรับใช้ในการทำโครงงานของระบบงานวินัยนักเรียนได้ 


ประเพณีวัฒนธรรม

 “ตูปะ”ข้าวต้มใบกะพ้อ ขนมคู่วันรายอ      หลังจากสิ้นสุดเดือนแห่งการถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอน หรือเดือนปอซอ ครบ 30 วันวันถัดมาคือวันเฉลิมฉลองข...