วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16 (OLMS)

  ออกฝึกสังเกตการณ์สอน




    ในวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ทางฝ่ายฝึกได้ขออนุญาติอาจารย์รายวิชาแต่ละท่านให้งดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษานั้นได้สังเกตการสอนของโรงเรียน
    อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ยกคลาสในสัปดาห์นี้พร้อมให้แต่กลุ่มของโครงงานทำงานกลุ่มให้คืบหน้า
ในครั้งนี้ทางกลุ่มเราได้มีนัดประชุมการทำงานโดยใช้ Google meet ในการประชุม

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (OLMS)

 ออกฝึกสังเกตการณ์สอน




    ในวันที่ 30 กันยายน 2564 ทางฝ่ายฝึกได้ขออนุญาติอาจารย์รายวิชาแต่ละท่านให้งดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษานั้นได้สังเกตการสอนของโรงเรียน
    อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ยกคลาสในสัปดาห์นี้พร้อมให้แต่กลุ่มของโครงงานทำงานกลุ่มให้คืบหน้า
ในครั้งนี้ทางกลุ่มเราได้มีนัดประชุมการทำงานโดยใช้ Google meet ในการประชุม



วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14 (OLMS)

 ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)



        1. สมาชิกในกลุ่มได้มีการมอบหมายรวมกัน ทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มเนื้อหาขของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ Science Mathematics Program : SMP 

2. การแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคน และการมีเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระที่ตัวเองเลือกในหัวข้อตัวเอง โดยแบ่งคนละ 1 หัวข้อ ซึ่งในการเพิ่มเนื้อหาของข้อมูล

        3. หลังจากสมาชิกในกลุ่มได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิ่ง ในระบบ Science Mathematics Program : SMP 

เสร็จสมบูรณ์ ก็จัดทำในรูปเล่มเอกสาร รายงานการศึกษาโครงงาน เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี 




วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (OLMS)

 นำเสนอบทที่ 2 - 3



         สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม นัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ SMP.YRU  โดยมีการแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคนไปหาข้อมูลในส่วนของตัวเอง และเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระ ซึ่งแบ่งให้คนละ 1 หัวข้อ แต่ละคนสามารถเพิ่มข้อมูล ทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอกสารประกอบการสอน พาเวอร์พอยต์ หรือคลิปวีดีโอการสอนต่าง ๆ อีกทั้งการเพิ่มกิจกรรมและการประเมินผล ทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหทั้งกลุ่ม1-6 ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานที่ได้ทำไว้โดยในเนื้อหา บทที่ 2-3 จะมีรายละเอียดดังนี้

บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 
  -ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์
  -ระบบอีเลิร์นนิ่ง
  -ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
  -เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ระบุหัวข้อ)
  -งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

(เนิ้อหาบท2ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มว่าจะใส่อะไรเพื่อให้ตรงกับเรื่องที่ทำในโครงงาน) และ บทที่ 3 วิธีการศึกษา เป็นขั้นตอนการศึกษาของ ADDIEลังเรียน และการมอบหมายงานต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด 





        หลังจากที่ได้นำเสนอ อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำในเรื่องของเนื้อหา การนำเสนอ และสไลด์ เพื่อที่แต่ละกลุ่มจะได้นำไปปรับปรุงครั้งต่อไป

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12 (OLMS)

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System) 




       สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม นัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ SMP.YRU  โดยมีการแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคนไปหาข้อมูลในส่วนของตัวเอง และเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระ ซึ่งแบ่งให้คนละ 1 หัวข้อ แต่ละคนสามารถเพิ่มข้อมูล ทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอกสารประกอบการสอน พาเวอร์พอยต์ หรือคลิปวีดีโอการสอนต่าง ๆ อีกทั้งการเพิ่มกิจกรรมและการประเมินผล ทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และการมอบหมายงานต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด 

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11 (OLMS)

 ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

    ในวันนี้ได้มีการประชุมในการทำพัฒนาพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง โดยผ่าน Google meet ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่ของตัวเองที่ได้รับผิดชอบ  มีดังนี้





                1.  การทำของบทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีการพูดคุยและทำความเข้าใจในเนื้อหาอย่างละเอียดมากขึ้น  โดยมีเนื้อหาดังนี้

                   การศึกษาโครงงาน คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

                        1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

                                  1.1 สาเหตุหรือปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

                                  1.2 ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

                                  1.3 ผลกระทบของเทคโนโลยี

                                  1.4 ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบของเทคโนโลยี

                          2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ บทเรียนออนไลน์ E - learning

                                  2.1 ความหมายของบทเรียน E - learning

                                  2.2 องค์ประกอบของ E - learning

                                  2.3 ระดับการนำ E - learning

                                  2.4 ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียน ADDIE Model

               2. การทำของบทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา มีขั้นตอนการศึกษาและการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งตามขั้นตอนของ ADDIE  Model มีรายละเอียด ดังนี้

                       2.1 การวิเคราะห์ (Analysis)

                        2.2 การออกแบบ (Design)

                        2.3 การพัฒนา (Development)

                        2.4 การนำไปใช้ (Implementation)

                        2.5 การประเมินผล (Evaluation)

            3. การทำพัฒนาบทเรียนผ่าน https://smp.yru.ac.th/login/index.php  การแบ่งหน้าที่ แต่แบ่งตามที่ตัวดองได้รับผิดเอง  เพื่อศึกษาการพัฒนาบทเรียนอิเลิร์นนิ่งและทำความเข้าใจกับระบบเพื่อง่ายในจัดการในการทำพัฒนาบทเรียนในครั้งต่อไป



ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10 (OLMS)

 ลงมือปฏิบัติทำแบบทอสอบ




      ในวันนี้ทางอาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาทุกคนเตรียมข้อสอบตัวเลือก คนละ 5 ข้อ แบบถูกผิด คนละ 5 ข้อ เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นิง smp.yru.ac.th เพื่อที่นักศึกษาทุกคนจะได้เตรียมตัวที่จะดำเนินการไปทำต่อกับโครงงานที่กำลังทำอยู่


วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 9 (OLMS)

     ก่อนเข้าบทเรียน ทบทวนเนื้อหาบที่ 4 เพื่อนำไปใช้ในการตอบปัญหาในกิจกรรม kahoot โดยใช้เว็บนี้ในการเข้ากิจกรรม https://kahoot.it/




    อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี จะมีการเรียนการสอนแบบปฏิบัติ โดยใช้ลิงค์ smp.yru.ac.th อาจารย์อธิบายวิธีการใช้งานพร้อมปฏิบัติตามอาจารย์เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างโครงงานในกลุ่มของต้นเอง







วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 8 (OLMS)

หยุดการเรียนการสอน วันแม่แห่งชาติ




     วันที่ 12 สิงหาคม 2564  เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มหาลัยจึงประกาศหยุดการเรียนการสอนเป็นเวลา 1 วัน 


วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 7 (OLMS)

 



กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้

    สัปดาห์วันที่ 3 สิงหาคม 2564 อาจารย์ได้มอบหมายงานแต่ละกลุ่มทำแบบฟอร์มโครงงานบทที่ 1 หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มพรีเซนบทที่ 1 ในวันที่ 5 สิงหาคม 2564 โดยใช้โปรแกรม Google meet ในการเข้าเรียนในวันนี้
 

ในแต่ละกลุ่มมีหัวข้อนำเสนอ ดังต่อไปนี้

 
    กลุ่ม 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 
 
    กลุ่ม 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
 
    กลุ่ม 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6
 
    กลุ่ม 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
 
    กลุ่ม 5 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
 
    กลุ่ม 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1


วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6 (OLMS)

 ก่อนเข้าคลาสอาจารย์ได้มอบหมายงาน ดังนี้

1.ทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 4

2.เตรียมเล่นกิจกรรม Kahoot ทบทวนเนื้อหาบทที่ 3


บทที่ 4 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง(e-Learning Courseware Development)



แนวทางการ ด าเนินงานตาม ขั้นตอน ADDIE Model 

    1.ขั้นวิเคราะห์ Analze 

        1.1 วิเคราะห์เป้าหมายการสอน Instructional Goals

        1.2 วิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน Target Audience Characteristic

        1.3 วิเคราะห์ทรัพยากรของบทเรียน Requirement Resourcer


    2.ขั้นออกแบบ Design

        2.1 ออกแบบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ Learning Objectives

        2.2 ออกแบบกลยุทธ์การสอน Instructional Strategies

        2.3 ออกแบบกลยุทธ์การทดสอบ Testing Strategies


     3.ขั้นพัฒนา Develop

         3.1 พัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ Learning resources

         3.2 ตรวจสอบความถูกต้อง Validation

         3.3 พัฒนาต้นแบบและทดสอบ Pilot Test

 

    4.ขั้นนำไปใช้ Implement

        4.1 การเตรียมการ Preparation

        4.2 การส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียน Participant Engagement


    5.ขั้นประเมินผล  Evaluation 

        5.1 การประเมินผลระหว่างเรียน Formative Evaluation

        5.2 การประเมินผลสรุป Summative Evaluation


    วิธีการเข้าระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อทดลองปฏิบัติ ที่เว็บไซต์ http://smp.yru.ac.th  ใช้ user : รหัสประจำตัวนักศึกษา password: 12345* เพื่อเตรียมฝึกทำโครงงาน





และวิธีการปฏิบัติพร้อมให้นักศึกษาปฏิบัติไปพร้อมๆกัน


















วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 5 (OLMS)

  ปิดชดเชย

    มหาลัยประกาศงดการเรียนการสอนออนไลน์ ในวันที่ 21-23กรกฎาคม 2564 เนื่องในวันอีฎิ้ลอัดฮาโดยให้อาจารย์ผู้สอนจัดการเรียนชดเชยการเรียนการสอนตามความเหมาะสมต่อไป 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4 (OLMS)

ก่อนเข้าคลาสอาจารย์ได้มอบหมายงาน ดังนี้

1.ทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 3

2.เตรียมเล่นกิจกรรม Kahoot ทบทวนเนื้อหาบทที่ 2


บทที่ 3 อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ (E-Learning and LMS) 


    การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เป็น นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่มีการออกแบบการเรียนการสอนไว้ อย่างเป็นขั้นตอนด้วยวิธีการเชิงระบบ

ความสำคัญของอีเลิร์นนิ่ง 

1. การแข่งเชิง เศรษฐศาสตร์ (Economic Competitivene ss)
2. การเรียนรู้ ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
3. ความเท่า เทียมของการ เข้าถึง (Social Equity and Access)
4. แนวทางการจัดการศึกษาที่ ดีกว่า (Better Education)
5. ประสิทธิภาพ ด้านการลงทุน (Cost Effectiveness)
6. ด้าน ภูมิศาสตร์ (Geography)
7. ธุรกิจการศึกษา (Commercializatio n of Education)

องค์ประกอบของระบบอีเลิร์นนิ่ง 



องค์ประกอบของระบบอีเลิร์นนิ่ง

    องค์ประกอบในการพิจารณาเพื่อพัฒนาระบบอีเลร์ิ น นิ่งในองค์กรหรือสถาบัน (Khan)
    1. ด้านวิธีสอน (Pedagogical) 
    2. ด้านเทคโนโลยี (Technological) 
    3. ด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้(Interface Design) 
    4. ด้านการประเมินผล (Evaluation) 
    5. ด้านการบริหารจัดการ (Management) 
    6. ด้านทรัพยากรสนับสนุน (Resource Support) 
    7. ด้านจริยธรรม (Ethical) 
    8. ด้านหน่วยงานรับผิดชอบ (Institutional) 


 




วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 3 (OLMS)

วันที่ 8 ก.ค.64 เป็นรายวิชา ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ โดย ผู้สอน อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ให้กิจกรรมให้นักศึกษา ได้ทำกิจกรรมก่อนเรียน มี 5 หัวข้อดังนี้
    1.ให้นักศึกษาทดทวนเนื้อหา บทที่ 1
    2.ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) บทที่ 1 บทนำ
    3.ให้นักศึกษาเล่นเกมส์ Kahoot เพื่อทบทวนความรู้บทที่ 1
    4.ให้นักศึกษาทำกิจกรรมแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 2
    5.ทุกคนเข้าห้อง Zoom Conference เวลา 10.00 น.

โดยจะเรียนใน บทที่ 2 ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning)



    --> การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน (Computer-based Learning) หมายถึงการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือ เช่น PC, Notebook,SmartPhone, iPAD, Tablet เป็นต้น

    --> การเรียนออนไลน์ (Online Learning) เป็นการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่
หลากหลายรูปแบบเช่น e-Learning, MOOC, m-Learning, Social Media 

    --> อีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) ในปัจจุบันเป็นการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต โดยออกแบบและพัฒนาอย่างเป็นระบบเป็นห้องเรียนเสมือนหรือมหาวิทยาลัยเสมือน

    --> การเรียนทางไกล (Distance Learning) เป็นลักษณะการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ต่างสถานที่ ส่งผ่านเนื้อหาการเรียนหลายรูปแบบถึงผู้เรียนด้วยช่องทางหลากหลาย เนื้อหาอาจเป็นรูปแบบดิจิทัลหรือเป็นเนื้อหาในรูปแบบเอกสารปกติ





วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2 (OLMS)

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บทที่ 1 บทนํา


การจัดการเรียนรู้จึงเป็น กิจกรรมในแง่มุมต่างๆ 4 ด้าน

 1 ด้านหลักสูตร หมายถึงการศึกษาจุดมุ่งหมายของการศึกษา เข้าใจในจุดประสงค์รายวิชาและการตั้งจุดประสงค์การจัดการเรียนรู้

 2 ด้านการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การเลือกวิธีสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม

 3 ด้านการวัดผลหมายถึงการเลือกวิธีการวัดผลที่เหมาะสม และ สามารถวิเคราะห์ผลได้

 4 ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ หมายถึงความสามารถในการประเมินผลของการจัดการเรียนรู้ทั้งหมดได้






ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (OLMS)

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 1





  เป็นวันแรกเรียนออนไลน์ของรายวิชา ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ โดยอาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี เป็นผู้สอนในรายวิชา ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ รหัสวิชา 4111211 โดย อาจารย์ ได้ให้งานให้นักศึกษา ไปทำมีดังนี้ 
1-ปรับแต่งและปรับปรุงบล็อกเกอร์ของตัวเองให้สวยงาม
2-แบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ 1
3-กิจกรรมอภิปราย: แนวโน้มของการเรียนออนไลน์
4-สรุปผลการเรียนรู้

ประเพณีวัฒนธรรม

 “ตูปะ”ข้าวต้มใบกะพ้อ ขนมคู่วันรายอ      หลังจากสิ้นสุดเดือนแห่งการถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอน หรือเดือนปอซอ ครบ 30 วันวันถัดมาคือวันเฉลิมฉลองข...